ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์


ข้อมูลทั่วไป

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์  เป็นเครือข่ายบริการสุขภาพของโรงพยาบาลหนองจิก  อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมีนายแพทย์อนุชิต วังทอง เป็นผู้อำนวยการ และนายโสภณ เกตุพัฒนพันธุ์  เป็นสาธารณสุขอำเภอ ในเครือข่ายเดียวกันจำนวน 15 แห่ง
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1  ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 อาคารสร้างด้วยเงินงบประมาณปี 2542 ตามแบบแปลนเลขที่ 8170/36 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 1,905,000 บาท ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 8 ไร่ โดยประกอบด้วย อาคารสำนักงาน 1 หลัง และบ้านพักเจ้าหน้าที่ ระดับ 1 – 2 จำนวน 2 หลัง
          ปีงบประมาณ 2550 ได้รบงบประมาณตามแผนเสริมสร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงด้านสังคม เพื่อปรับปรุงสถานีอนามัย โดยการต่อเติมชั้นล่าง และทาสีอาคารปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่แล้ว

ที่ตั้งและอาณาเขต
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1  ตำบลบ่อทอง 
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

อาณาเขต
          ทิศเหนือ          ติดต่อกับหมู่ที่ 5  ตำบลบางเขา  อำเภอหนองจิก
          ทิศใต้             ติดต่อกับหมู่ที่ 4  ตำบลบ่อทอง  อำเภอหนองจิก
          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับหมู่ที่ 6  ตำบลบ่อทอง  อำเภอหนองจิก
          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับหมู่ที่ 4  ตำบลท่าเรือ   อำเภอโคกโพธิ์

ลักษณะภูมิประเทศ
          พื้นที่รับผิดชอบเป็นที่ราบ และบางส่วนเป็นเนินเขา

ลักษณะภูมิอากาศ
          อากาศค่อนข้างชื้น ฤดูกาลมี 2 ฤดู  คือ  ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ – สิงหาคม)
และ ฤดูฝน (กันยายน – มกราคม)

สถานที่ท่องเที่ยว
          มีเจดีย์บนยอดเขาซึ่งตั้งอยู่ในค่ายอิงคยุทธบริหารบ้านบ่อทอง ตั้งอยู่ที่ 7  ตำบลบ่อทอง

เศรษฐกิจ และ สังคม
อาชีพ
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนเรนทร์ ดังต่อไปนี้
·       เกษตรกรรม                         ร้อยละ  20.20
·       รับจ้าง                               ร้อยละ  40.00
·       นักเรียน                             ร้อยละ  12.00
·       ค้าขาย                               ร้อยละ  15.00
·       ในปกครอง                          ร้อยละ  10.26
·       รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ             ร้อยละ  2.54
·       รายได้ของประชากร เฉลี่ย          19,000  บาท/คน/ปี
(ข้อมูล จปฐ. ปี 2555)

การนับถือศาสนา
·       พุทธ                                 ร้อยละ  56
·       อิสลาม                               ร้อยละ  44

การศึกษาของประชากร
·       ประถม                              ร้อยละ  53.58
·       มัธยม                                ร้อยละ  22.25
·       ปริญญาตรี                          ร้อยละ  4.46
·       อนุปริญญา                          ร้อยละ  3.22
·       สูงกว่าปริญญาตรี                   ร้อยละ  7.34
·       ไม่ได้รับการศึกษา                   ร้อยละ  11.15
(ข้อมูล จปฐ. ปี 2554)

สถานศึกษา/วัด
·       วิทยาลัยการอาชีวศึกษา                      1      โรง
·       โรงเรียนประถมศึกษา                         3     โรง
·       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                            1     ศูนย์
·       วัด                                             1     แห่ง
·       มัสยิด                                          1     แห่ง
·       ศูนย์เรียนรู้                                    1     แห่ง
·       หอกระจายข่าว                               1     แห่ง 


เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน

1.       นางรอปิเอาะ     สุหลง            ตำแหน่ง      เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุขอาวุโส
2.       นางนงเยาว์       ดวงศรี           ตำแหน่ง      พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.       นายประจวบ     มากหนู          ตำแหน่ง      นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
4.       น.ส.รัตนพร       อินทกาศ        ตำแหน่ง      พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
5.       นายสมภพ        สุวรรณชมภู     ตำแหน่ง      เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

อัตราส่วน    เจ้าหน้าที่ ต่อ ประชากร  1 : 842


หมู่บ้านที่รับผิดชอบ

ตารางที่  1  จำนวนประชากร และหลังคาเรือน จำแนกรายหมู่บ้าน

ตำบล
ชื่อ
หมู่บ้าน
หมู่ที่
จำนวน
หลังคาเรือน
จำนวน
ประชากร
จำนวน
ประชากร
( เด็ก0-5ปี )
   บ่อทอง
  ควนคูหา
   บ่อทอง
   โคกกอ
 บ้านใหม่
 ทุ่งนเรนทร์
รวม
1
7
8
9
164
310
208
87

769
834
2,022
916
421

4,193
52
55
51
42

200





ตารางที่  2  จำนวนประชากรจำแนกตามกลุ่มอายุและเพศในเขตรับผิดชอบ

กลุ่มอายุ
ประชากร
รวม
ชาย
หญิง
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ


     0 – 4
100
3.08
  100
   4.14
    200


     5 – 9
128
5.32
 120
   7.05
    254


   10 – 14
181
7.52
 134
   7.50
    315


   15 – 19
144
6.23
 131
   7.33
    281


   20 – 24
328
13.63
 127
   7.44
    461


   25 – 29
479
19.91
 154
   8.62
    633


   30 – 34
201
8.69
 167
   9.35
   376


   35 – 39
160
6.86
 103
   6.16
   275


   40 – 44
117
4.86
 133
   7.44
   250


   45 – 49
132
5.49
 155
   8.73
   288


   50 – 54
131
5.74
 130
   7.27
   268


   55 – 59
118
4.90
 131
   7.33
   249


   60 – 64
63
2.62
  63
   3.86
   132


   65 – 69
50
2.08
  36
   2.01
   86


   70 – 74
32
1.33
  44
   2.46
   76


   75 – 79
24
1.00
  31
   1.73
   55


มากกว่า 80 ปี
18
0.75
  28
   1.57
  46


     รวม
2406
100.00
1787
 100.00
 4,193







นวัตกรรมงานสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค

วัคซีนเรียงเบอร์

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อเป็นหลักฐานว่าเด็กแต่ละคนได้รับวัคซีนขวดไหน
2.  เมื่อมีอาการ AEFI สามารถทราบได้ว่าวัคซีนที่ใช้ขวดไหน  มีใครฉีดด้วยกี่คน มีอาการร่วม ด้วยหรือไม่
3.  เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการแก้ปัญหา หากมีอาการผิดปกติหลังฉีด

วิธีการศึกษา

          จากเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555  หลังจากฉีดวัคซีนให้กับ เด็กชายมูฮำหมัดไซนูนอาบีดีน สาและ  ซึ่งมาฉีดวัคซีน DPT กระตุ้นครั้งที่ 2 อายุ 4 ปี  หลังจากฉีด 15 นาที กลับบ้านผู้ป่วยกลับบ้าน ขณะนั้นเจ้าหน้าทีกำลังให้บริการกับเด็กรายอื่นอยู่  ผู้ปกครองเด็กนำเด็กชาย
มูฮำหมัดไซนูนอาบีดีน สาและ มา รพ.สต. ด้วยอาการ ตัวร้อน ชัก ไม่รู้สึกตัว  เจ้าหน้าที่ได้วัดไข้ พบว่าไข้สูง 39°C เรียกรู้สึกตัว เช็ดตัวเด็กให้ให้ทานยาparacetamol แล้วส่งต่อพบแพทย์ อาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน  และได้ติดตามเยี่ยมบ้านช่วงบ่ายเด็กมีอาการปกติ  วิ่งเล่นได้  ไม่มีอาการไข้  ขณะนั้นยังไม่มีการคัดหมายเลขที่ขวด  แต่โชคดีที่เด็กที่มีอาการ มาฉีดเป็นคนแรก ขวดวัคซีนยังใช้บริการกับผู้อื่นอยู่  หลังจากนั้นก็เก็บขวดนั้นไว้ และติดตามเด็กที่ฉีดร่วมด้วยก็ไม่มีอาการ จึงมีแนวคิดว่าเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอีก จึงมีแนวทางติดเบอร์ที่ขวดวัคซีน  ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.       ติดหมายเลขวัคซีนแต่ละชนิด เริ่มจาก 1 20 เรียงตามวันหมดอายุ ก่อนหลังของ Stock ในตู้เย็น
2. เบิกใหม่ Check วันหมดอายุส่วนใหญ่เบิกใหม่จะหมดอายุหลังหรือหมดอายุวันเดียวกันก็เรียงหมายเลขต่อไป
3.       เมื่อถึงวันให้บริการ เจ้าหน้าทีให้บริการ จะดูวันนัดชนิดของวัคซีน เพื่อลงทะเบียนในสมุดสีชมพู บอกให้ผู้เตรียมวัคซีน ชนิดวัคซีนที่จะต้องฉีด
4.       ผู้เตรียมหยิบวัคซีนหมายเลขที่เท่าไรบอกให้ผู้ลงทะเบียนทราบเพื่อบันทึกหมายเลข
5.       เสร็จจากการให้บริการนำขวดวัคซีนที่เหลือใช้ เก็บใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ในตู้เย็น เพื่อเฝ้าระวังอาการหลังฉีด
6.       ถ้ามีเหตุการณ์  มีAEFI เกิดขึ้น ก็สามารถ Check ได้ว่ารับวัคซีนอะไร ขวดไหน ใครร่วมฉีดบ้าง

  
ประโยชน์ของการนำไปใช้
          เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้รับบริการการฉีดวัคซีนแต่ละชนิด  ในกรณีที่เกิดปัญหาการแพ้วัคซีนรุนแรงในบางราย  ซึ่งจะเกิดขึ้นน้อยรายหรือไม่เกิดขึ้นเลย  และในทางปฏิบัติเป็นการทำงานที่มีความรอบคอบ  สะดวก  ง่ายในการติดตามเด็กหลังฉีด  สมมุติว่าถ้าเกิดกรณีการแพ้วัคซีนเกิดขึ้นก็สามารถตรวจเช็คได้อย่างรวดเร็ว  เป็นการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในการใช้วัคซีนต่อผู้ที่มารับบริการ เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการสามารถนำไปปฏิบัติได้


ข้อเสนอแนะ
          จากการติดเบอร์ที่ขวดวัคซีน พบว่าหมายเลขที่เขียนติดขวดไว้สีไม่ค่อยชัด และสีค่อยๆจ่าง ต้องเขียนด้วยสีเข้มกว่า ทำให้ชัดเจนกว่าเดิม          
  

ผลงานแสดงความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่งนเรนทร์  หมู่ที่ 1  ตำบลบ่อทอง  อำเภอหนองจิก

กิจกรรม

เกณฑ์

งวดที่ 1

งวดที่ 2

เป้า
ผล
ร้อยละ
เป้า
ผล
ร้อยละ
BCG
90%
13
13
100.00
8
8
100.00
OPV_DHB3
90%
13
13
100.00
8
8
100.00
MMR1
90%
13
13
100.00
8
8
100.00
JE2
90%
9
8
88.89
10
10
100.00
OPV_ DHB4
90%
9
8
88.89
10
10
100.00
JE3
90%
6
6
100.00
10
10
100.00
OPV5,DPT5
90%
5
5
100.00
10
9
90.00



















จากตาราง 
         เด็กอายุ 0 - 1 ปี ได้รับการฉีดวัคซีน ครบตามเกณฑ์
                             งวดที่ 1   คิดเป็นร้อยละ 100
                   งวดที่ 2   คิดเป็นร้อยละ 100

          เด็กอายุ  2 ปี ได้รับการฉีดวัคซีน  ครบตามเกณฑ์
                             งวดที่ 1   คิดเป็นร้อยละ 88.88
                   งวดที่ 2   คิดเป็นร้อยละ 100

          เด็กอายุ  3 ปี ได้รับการฉีดวัคซีน  ครบตามเกณฑ์
                             งวดที่ 1   คิดเป็นร้อยละ 100
                   งวดที่ 2   คิดเป็นร้อยละ 100

          เด็กอายุ  5 ปี ได้รับการฉีดวัคซีน  ครบตามเกณฑ์
                             งวดที่ 1   คิดเป็นร้อยละ 100
                   งวดที่ 2   คิดเป็นร้อยละ 90
        


รูปกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

เขียนหมายเลขเบอร์วัคซีน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น